สะเดา สมุนไพรกำจัดแมลงศรัตรูพืช

สมุนไพรกำจัดแมลงศรัตรูพืช

“สะเดา”ทางเลือกใหม่สำหรับการทำเกษตรแบบปลอดสารพิษหลักๆก็มีอยู่ด้วยกันสามชนิดคือ สะเดาไทย สะเดาอินเดีย สะเดาช้าง (สะเลียม) Azadirachta indica  A.juss.var.siamensis Val.

เมล็ดสะเดา

1. นำเมล็ดสะเดาที่แห้งแล้ว 1 กก. บดหรือโขลกให้ละเอียด

2. นำเอาผงเมล็ดที่ได้มาแช่น้ำ 20 ลิตร ( 1ปี๊บ) ทิ้งไว้นาน 12-24 ชม. แล้วกรองเอาน้ำด้วยผ้าบางๆ ส่วนกากสามารถใช้ทำปุ๋ยได้

3. ก่อนนำไปใช้ให้ผสมสารจับใบ เช่น แฟ๊บ ซันไลด์ หรือแชมพูลงในอัตราส่วน  1 ช้อนโต๊ะ/น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทุก 6-10 วัน ในช่วงเวลาเย็น

ใบสะเดา

1. ต้องใบสะเดาสดซึ่งจะมีสีเขียวเข้ม ไม่น้อยกว่า 2 กก.

2. บดหรือโขลกใบสะเดาให้ละเอียด ก่อนนำไปแช่ในน้ำ 20 ลิตร ทิ้งไว้ประมาณ 24 ชั่วโมง

3. ก่อนนำไปใช้ให้ผสมสารจับใบ  เช่น แฟ๊บ ซันไลด์ หรือแชมพู ลงในอัตราส่วน 1 ช้อนโต๊ะ/ น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทุกๆ 6-10 วัน ในช่วงเวลาเย็น

ศัตรูเป้าหมายในการกำจัดด้วยสารสะเดา

ด้วงหมักผัก เพลี้ยอ่อน เพลี้ยจักจั่น เพลี้ยกระโดดหลังข้าวเพลี้ยจักจั่นสีน้ำตาล ผีเสื้อมวนหวาน หนอนกอสีครีม หนอนกอหนอนเจาะบัว ลำต้นลายจุดในข้าวโพด ข้าวฟ่าง หนอนมวนใบข้าว หนอนชอนใบส้ม หนอนกระทู้กัดต้น หนอนกระทู้ด้วยควายพระอินทร์ หนอนใยกระหลำ ด้วงเต่า ฟักทอง หนอนใยผัก ตั๊กแตน ไส้เดือนฝอย แมลงในโรงเก็บ เป็นต้น

การเก็บเมล็ดสะเดาแห้ง

1. เก็บผลสะเดาที่แก่จัดเต็มที่ นำมาถูหรือขยี้กับทรายหรือตระแกรงหรือกระด้งเพื่อให้เนื้อหลุดออกไป หรือใช้เครื่องกระเทาะเนื้อออกจากเมล็ด

2. นำไปผึ่งแดด 2-3 วัน และผึ่งลมต่อให้แห้งประมาณ 2-3 วัน ไม่ควรตากเมล็ดในแสงแดดโดยตรงเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้เมล็ดมีคุณภาพลดลง

3. นำเมล็ดแห้งบรรจุในตาข่ายพลาสติกหรือกระสอบหรือภาชนะที่ระบายความชื้นได้ดี ถ้ามีเมล็ดที่ขึ้นราให้แยกออก และนำที่เหลือไปผึ่งให้แห้งอีกครั้งหนึ่ง


สมุนไพรไทย

หญ้าปักกิ่ง: สมุนไพรต้านมะเร็งได้

“มะเร็ง” โรคร้ายที่น่าสะพรึงกลัว และไม่มีทางรักษาให้หายขาดได้ แต่เราสามารถป้องกันเนื้อร้าย หรือที่เรียกว่า “เซลล์มะเร็ง” ไม่ให้แพร่กระจาย หรือลุกลามไปสู่อวัยวะส่วนต่างๆของร่างกายได้ด้วยสมุนไพรที่หาได้ในท้องถิ่น ซึ่งบางทีเราอาจจะเคยเห็นผ่านตาไปบ้างแล้ว เพียงแต่เราไม่เคยรู้จักเท่านั้นเอง และในวันนี้ผมก็ได้มีโอกาสศึกษาเกี่ยวกับสมุนไพรอีกชนิดหนึ่ง ที่มีสารกลุ่มกลัยโคสฟิงโกไลปิดส์ ซึ่งเป็นสารที่ช่วยต้านเซลล์มะเร็งในระยะเริ่มต้นได้ และสมุนไพรที่ว่านี้มีชื่อเรียกว่า “หญ้าปักกิ่ง” ที่เห็นในภาพนั่นเองครับ

หญ้าปักกิ่ง หรือหญ้าเทวดา เป็น “สมุนไพร” ที่จัดอยู่ในกลุ่มไม้ล้มลุกสูงประมาณ 10 เซนติเมตร ลักษณะใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับ ใบที่โคนต้นกว้างประมาณ 1.5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 10 เซนติเมตร ออกดอกที่ปลายยอดรวมกันเป็นกระจุกแน่น ส่วนของลำต้นและใบสามารถใช้เป็นอาหารหรือนำมาทำน้ำผลไม้ได้

ประโยชน์ทางด้านสมุนไพร
ลำต้นของสมุนไพร “หญ้าปักกิ่ง” จะมีสารกลุ่มกลัยโคสฟิงโกไลปิดส์ ซึ่งเป็นสารต้านมะเร็งในระยะเริ่มต้น ที่ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย สร้างภูมคุ้มกันโรคที่อาจจะเกิดขึ้นกับร่างกาย เช่น โรคมะเร็งในลำคอ ตับ มดลูก มะเร็งลำไส้ มะเร็งผิวหนัง และมะเร็งในเม็ดเลือดได้ อีกทั้งยังเสริมสร้างภูมิคุ้มกันภาวะเส้นเลือดหัวใจตีบ โรคภูมแพ้ โรคเบาหวาน และโรคความดันได้อีกด้วยครับ


การเก็บสมุนไพรที่ถูกต้อง

การเก็บสมุนไพร เพื่อให้ได้ปริมาณยามากที่สุด

สมุนไพรไทย
ตำหรับยาที่ได้จาก “สมุนไพรไทย” ถือว่าเป็นศาสตร์อีกแขนงหนึ่งที่สืบทอดกันมาแต่โบราณ อีกทั้งยังเป็นที่ยอมรับในวงการแพทย์สมัยใหม่ในปัจจุบันอีกด้วย แต่ในการเก็บสมุนไพรเพื่อนำมาปรุงเป็นยารักษาโรคนั้น เพื่อให้ได้ประโยชน์ทางด้านสรรพคุณทางยาอย่างสูงสุด คนสมัยก่อนจะเก็บตามช่วงเวลาที่เหมาะสมและลักษณะของการใช้งาน ตามที่ผมได้ศึกษาในหนังสือ “สมุนไพรไทย” เล่มเก่าอยู่เล่มหนึ่ง มีวิธีการเก็บสมุนไพรอย่างนี้ครับ

- หากจะเก็บประเภทดอก
ควรจะเก็บในช่วงที่ดอกของสมุนไพรกำลังเริ่มบานหรือบานเต็มที่แล้ว เพราะจะเป็นช่วงที่สมุนไพรสะสมปริมาณตัวยาเอาไว้ค่อนข้างสูง แต่ก็มีสมุนไพรบางชนิดที่ต้องเก็บในช่วงที่ดอกตูม เช่น กานพลู เป็นต้น

- หากจะเก็บส่วนรากหรือหัว
ให้เก็บในช่วงเวลาที่พืชสมุนไพรชนิดนั้นหยุดการเจริญเติบโตแล้ว สังเกตได้จากดอกและใบจะร่วงออกจนเกือบหมด หรือในช่วงต้นฤดูหนาวจนถึงปลายฤดูร้อน เช่นกระชายหรือขิง เหตุผลก็เพราะว่าช่วงนี้รากหรือหัวของสมุนไพรดังกล่าว จะสะสมปริมาณตัวยาเอาไว้ค่อนข้างสูง  และการเก็บสมุนไพรก็จะต้องขุดด้วยความระมัดระวัง เพื่อป้องกันไม่ให้รากหรือหัวสมุนไพรเกิดความเสียหาย จนแตกหักหรือช้ำ

- หากจะเก็บใบหรือเก็บทั้งต้น
ควรเก็บใบของสมุนไพรที่สมบูรณ์ และมีการเจริญเติบโตมากที่สุด ไม่ควรเก็บใบที่อ่อนจนเกินไป เช่นเก็บช่วงที่สมุนไพรชนิดนั้นมีดอกบานเป็นต้น ในการเก็บแนะนำให้ใช้วิธีเด็ดใบ เช่น สมุนไพรฟ้าทะลายโจรเป็นต้น

- หากจะเก็บประเภทเปลือกของราก หรือเปลือกต้น
สำหรับ “เปลือกต้นของสมุนไพร” ควรเก็บในช่วงฤดูร้อนที่ต่อกับช่วงฤดูฝน คือประมาณปลายๆเดือนเมษายน- ช่วงกลางเดือนพฤษภาคม เพราะในช่วงนี้ปริมาณยาในสมุนไพรจะมีมากกว่าช่วงอื่น และจะเป็นช่วงที่ลอกเปลือกสมุนไพรได้ง่าย แต่ก็ไม่ควรลอกเปลือกของสมุนไพรจนรอบต้น เพราะจะไปกระทบกระเทือนต่อการลำเลียงอาหารของพืช จนอาจทำให้ตายได้ ทางที่ดีควรลอกเปลือกของกิ่งที่เป็นแขนงย่อยออกมา ไม่ควรลอกเปลือกจากต้นใหญ่ หรือจะใช้วิธีลอกเปลือกแบบครึ่งวงกลมของต้นไม้ก็ได้ ส่วนช่วงเวลาที่ดีที่สุดในการเก็บ “เปลือกรากของสมุนไพร” คือช่วงฤดูฝน เพราะการลอกเปลือกรากของสมุนไพร จะส่งผลเสียต่อการเจริญเติบโตของพืช ควรทำด้วยความระมัดระวังเพราะอาจทำให้พืชชะงักการเจริญเติบโตหรือตายได้

- หากจะเก็บประเภทผลหรือเมล็ด

สำหรับสมุนไพรบางชนิด อาจจะเก็บในช่วงที่ผลยังไม่สมบูรณ์หรือผลยังไม่สุกก็มี เช่น ฝรั่ง ที่นิยมเก็บผลอ่อนมาเป็นยาแก้ท้องร่วง ส่วนสมุนไพรที่นิยมเก็บช่วงที่ผลแก่เต็มที่แล้วก็มี เช่น ดีปลี มะแว้งเครือ มะแว้งต้น เมล็ดฟักทอง เมล็ดชมเห็ดไทย และเมล็ดสะแก เป็นต้น

จอกบ่วาย สมุนไพรแก้ไข้มาลาเรีย

จอกบ่วาย สมุนไพรแก้ปวดเมื่อย แก้ไข้มาลาเรีย

สมุนไพรไทย
ในวันพักผ่อนหรือวันหยุดสุดสัปดาห์แบบนี้ สุภาพชนคนวัยทำงานอย่างพวกเราก็ต้องพักผ่อน ผ่อนคลายอิริยาบถกันบ้างนะครับ ทั้งนี้ก็เพื่อลดความเมื่อยล้าจากการทำงานมาทั้งสัปดาห์ และก็เช่นเคยครับ สาระดีๆ สำหรับบทความสมุนไพรไทยวันนี้ ขอนำเสนอสมุนไพร ที่เป็นที่ยอมรับว่ามีคุณประโยชน์อย่างมากมายไม่ว่าจะเป็น แก้ปวดเมื่อย  แก้บิด หรือแม้กระทั่งแก้ไขมาลาเรียก็ยังได้ครับ สมุนไพรที่ว่านี้ก็คือ “จอกบ่วาย” นั่นเองครับ หลายคนอาจจะยังไม่ค่อยคุ้นหู...รายละเอียดทั้งหมดอยู่ต่อหน้าท่านแล้วครับ
จอกบ่วาย "สมุนไพร" แก้ปวดเมื่อย
จอกบ่วาย สมุนไพรแก้ปวดเมื่อย

จอกบ่อวาย หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าหยาดน้ำค้าง เป็นพืชล้มลุก ขนาดเล็ก ใบเดี่ยว เปลี่ยนไปทำหน้าที่ดักแมลง มีสีออกแดงรูปซ้อน เรียงเวียนซ้อนกันรอบโคนต้น มีขนปกคลุมทั่วไป เส้นผ่าศูนย์กลางกลุ่ม 1-2.5 เซนติเมตร ดอกย่อยขนาดเล็กติดเรียงอยู่บริเวณปลายช่อ กลีบรองและกลีบดอกมีอย่างละ 5 กลีบ เกสรเพศผู้มี 5 อัน ก้านเกสรเพศเมียมี 5 อัน แยกจากกัน ผลมีลักษณะกลมเล็ก พบทั่วไปตามทุ่งหญ้าโล่งๆ หรือตามดินทรายที่ชื้นแฉะในป่าเต็งรัง สำหรับในประเทศไทยพบได้ทั่วทุกภาค สมุนไพรชนิดนี้จะออกดอกและติดผลในช่วงเดือนพฤษภาคม – ธันวาคม ทั้งต้นมีรสขม

สรรพคุณทางยาสมุนไพร
ใช้เป็นยาสมุนไพร แก้บิด ต่อมน้ำเหลืองอักเสบ และแก้ไข้มาลาเรีย หรือจะใช้ภายนอกโดยบดเป็นยาถูนวดแก้ปวดเมื่อยก็ได้ผลเป็นอย่างดีครับ

ที่มา: หนังสือพรรณไม้สวนพฤกษศาสตร์ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิตติ์ เล่ม 7 

เสน่ห์จันทร์แดง สมุนไพรรักษาแผลสด

เสน่ห์จันทร์แดง สมุนไพรรักษาแผลสด

สมุนไพรไทย
เสน่ห์จันทร์แดง จัดเป็นพันธุ์ไม้ขนาดเล็ก มีลำต้นเป็นหัวอยู่ใต้ดินเช่นเดียวกับบอนชนิดอื่นๆทั่วไป ต้นโตขนาดประมาณ 2-3 นิ้วสูงประมาณ 4-5 นิ้ว ส่วนความสูงที่เลยไปจากพื้นคือความสูงของใบและก้านใบ ซึ่งเสน่ห์จันทร์แดงบางต้นอาจสูงได้ถึง 1-1.5 ฟุตเลยทีเดียว ส่วนลักษณะใบจะเป็นใบเดี่ยว แตกออกไปตรงส่วนยอดของลำต้น ลักษณะดอกจะเป็นแท่งกลมยาว ช่อดอกถูกหุ้มเอาไว้ด้วยกาบสีแดง และจะส่งกลิ่นที่หอมไปไกลมาก ส่วนผลของเสน่ห์จันทร์แดงจะมีขนาดเล็กมาก ซึ่งจะเกิดขึ้นในช่วงระยะที่กาบห่อดอกแห้งเหี่ยวไปแล้ว
เสน่ห์จันทร์แดง "สมุนไพร" รักษาแผลสด
ประโยชน์และสรรพคุณทางด้านสมุนไพรของ “เสน่ห์จันทร์แดง”

เสน่ห์จันทร์แดง จัดว่าเป็นสมุนไพรที่มีพิษร้าย ซึ่งคนในสมัยโบราณก่อนนั้น มักนิยมนำเสน่ห์จันทร์แดงมาปรุงเป็นยาพิษทำร้ายศรัตรู ส่วนใบของเสน่ห์จันทร์แดงสามารถนำมารักษาแผลสดได้ ส่วนหัวจะใช้ทาแก้โรคไขข้ออักเสบ (เป็นยาที่ใช้ทาภายนอกเท่านั้น) และหากนำเสน่ห์จันทร์แดงมากลั่นด้วยกรรมวิธีทางเคมี ก็จะได้น้ำมันหอมระเหยที่สามารถนำมาผลิตเป็นเครื่องสำอางต่างๆได้

การปลูกและการขยายพันธุ์ “เสน่ห์จันทร์แดง”


เสน่ห์จันทร์แดง เป็นสมุนไพรที่สามารถขยายพันธุ์ได้โดยการแยกเหง้าหรือแยกหน่อ เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนซุย และดินที่มีความชื้นสูง และในการปลูกการดูแลสมุนไพร “เสน่ห์จันทร์แดง” ไม่ควรใช้ปุ๋ยเคมีนะครับ

รวมสูตรสกัดสารจากสมุนไพร

กรรมวิธีสกัดสารจากสมุนไพร
สมุนไพร
สูตรสกัดสมุนไพร สูตร 1
ให้แช่สมุนไพรหรือหมักด้วยน้ำเปล่าพอท่วม หรือให้มีน้ำมากกว่า 2-5 เท่าตามความเหมาะสม ทั้งนี้หากเราใช้น้ำน้อยจะได้สารสกัดที่เข้มข้น หรือใช้น้ำตามปริมาณที่ระบุจากงานวิจัยก็ได้ แต่การหมักหรือแช่ด้วยน้ำเปล่าจะทำให้ได้สารสมุนไพรออกฤทธิ์ที่น้อยที่สุดในบรรดากรรมวิธีต่าง ของการหมักหรือการสกัดสมุนไพรทุกรูปแบบ
สูตรสกัดสมุนไพร สูตร 2
ใช้สมุนไพร + กากน้ำตาล + จุลินทรีย์ธรรมชาติ อัตราส่วน 3:1:1/2
สูตรสกัดสมุนไพร สูตร 3
สมุนไพร + น้ำเปล่า + กากน้ำตาล + จุลินทรีย์ธรรมชาติ อัตราส่วน 10:10:1:1:1/2
สูตรสกัดสมุนไพร สูตร 4
สมุนไพร + น้ำเปล่า + เหล้าขาว + หัวน้ำส้มสายชู อัตราส่วน 10:10:1/2:1/10
สูตรสกัดสมุนไพร สูตร 5
สมุนไพร + เหล้าขาว + หัวน้ำส้มสายชู อัตราส่วน 10:10:1/10
สูตรสกัดสมุนไพร สูตร 6
สมุนไพร + เอธิลแอลกอฮอล์ อัตราส่วน 1: 1 หรือ 1:2-3
สูตรสกัดสมุนไพร สูตรพิเศษ
1.สกัดด้วยอาหารเลี้ยงเชื้อ พีดีเอ.
2.สกัดด้วยปิโตรเลียมอีเทอร์
3.สกัดด้วยเอกเซนและอาซิโตน
4.สกัดด้วยวิธีต้มกลั่นหรือทำเป็นสารระเหย
การสกัดสารสมุนไพรแบบนี้ เป็นกรรมวิธีสกัดภายในห้องทดลองมีอุปกรณ์เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ ทำให้ได้สารออกฤทธิ์บริสุทธิ์และมีประสิทธิภาพสูงสุดเหมาะสำหรับเพื่อการค้า

รวมสมุนไพรกำจัดศัตรูพืชแบบผสม

สารสกัดสมุนไพรป้องกันกำจัดโรคแมลงศัตรูพืช (แบบผสม)
สมุนไพรกำจัดศัตรูพืช
1. ใบสะเดา + ใบเลี่ยน (สมุนไพรกำจัดศัตรูพืช)
ใบสะเดาแก่สด 5 กก. + ใบเลี่ยนแก่สด 5 กก. บดป่นแช่น้ำพอท่วมนาน 24 ชม. จะได้หัวเชื้อ
อัตราใช้ : หัวเชื้อ 1-2 กระป๋องนม/น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วทรงพุ่มทุก 3-5 วัน สามารถป้องกันและกำจัดศัตรูพืชได้
2. สะเดา + เลี่ยน + ดาวเรือง + บอระเพ็ด + ลูกเหม็น  (สมุนไพรกำจัดศัตรูพืช)
ใบสะเดาแก่สด 1 กก. + ลูกสะเดาแก่สด 1 กก. + ดอกดาวเรืองสด 1 กก. บดป่นหรือสับเล็ก + น้ำพอท่วม ต้มจนเดือด 2-3 ชม. ปล่อยให้เย็นแล้ว + เถาบอระเพ็ดแก่สด 1 กก. + น้ำ 20 ลิตร แช่นาน 3 วันได้หัวเชื้อ
อัตราใช้  : หัวเชื้อ 1 ลิตร + ลูกเหม็น 1-2 ลูก + น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วทรงพุ่มทุก 3-5 วัน จะป้องกันกำจัดศัตรูพืชจำพวก แมลงศัตรูพืชในพืชตระกูลถั่ว เพลี้ยอ่อน เพลี้ยไฟ ได้เป็นอย่างดี
3. สะเดา + ข่า + ตะไคร้หอม (สมุนไพรกำจัดศัตรูพืช)
ใบสะเดาแก่สด 5 กก. + ข่าแก่สด + ตะไคร้หอมทุกส่วนแก่สด 5 กก. บดละเอียดแช่น้ำ 20 ลิตร นาน 24 ชม. จะได้หัวเชื้อ
อัตราใช้  : หัวเชื้อ 10-20 ซีซี./น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วทรงพุ่มทุก 3-5 วัน จะป้องกันและกำจัดศัตรูพืชจำพวก แม่ผีเสื้อ ตัวหนอนแก้ว หนอนชอนใบ เพลี้ยแป้ง โรคราดำ ราแอนแทรกโนส โรครากเน่าโคนเน่า ได้เป็นอย่างดี พืชที่ใช้ได้ผลดี เช่น ส้มเขียวหวาน ส้มโอ หน่อไม้ฝรั่ง บัวหลวง เป็นต้น
4. สะเดา ยาสูบ หางไหล ตะไคร้หอม  (สมุนไพรกำจัดศัตรูพืช)
ใบสะเดาแก่สด 5 กก. + ใบยาสูบแก่สด 1 กก. + หางไหล 1 กก. + ตะไคร้หอมแก่สดทุกส่วน 1 กก. บดละเอียด + เหล้าขาว 750 ซีซี. + หัวน้ำส้มสายชู 150 ซีซี. + น้ำ 20 ลิตร หมักนาน 3-5 วัน จะได้หัวเชื้อ
อัตราใช้  : หัวเชื้อ 30-50 ซีซี./น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วทรงพุ่มทุก 3-5 วัน สามารถไล่แมลงทำให้ไข่แมลงฝ่อ กำจัดหนอนและโรคได้หลายชนิด
5. พริก พริกไทย ดีปลี (สมุนไพรกำจัดศัตรูพืช)
พริกสดเผ็ดจัด 1 กก. + พริกไทยผลสด 1 กก. + ดีปลีสด 1 กก. บดละเอียดแช่น้ำ 20 ลิตร นาน 24 ชม. จะได้หัวเชื้อ
อัตราใช้  : หัวเชื้อ 200-500 ซีซี./น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วทรงพุ่มทุก 3-5 วัน ศัตรูพืชจำพวก มด เพลี้ยอ่อน เพลี้ยไฟ หนอนคืบ หนอนใย ไล่แมลงผีเสื้อ ไวรัส (ใบด่าง/ใบลาย) จะหายไป
6. สาบเสือ แค กระเทียม ตะไคร้หอม ข่า สะเดา (สมุนไพรกำจัดศัตรูพืช)
ใบสาบเสือแก่สด 1 กก. + เปลือกต้นแคสด 1 กก. + กระเทียมสด 1 กก. + ตะไคร้หอม 1 กก. + ใบสะเดาแก่สด 5 กก. บดปั่น + เหล้าขาว 1 ขวด (750 ซีซี.) + หัวน้ำส้มสายชู 750 ซีซี. + น้ำ 40-60 ลิตร หมักนาน 3-5 วัน จะได้หัวเชื้อ
อัตราใช้  : หัวเชื้อ 30-50 ซีซี./น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วทรงพุ่มทุก 3-5 วัน จะป้องกันโรคเกิดจากเชื้อรา (ใบไหม้ ใบจุด ใบเน่า) โรคทางดิน (รากเน่า โคนเน่า เน่าคอดิน) เพลี้ยไฟ เพลี้ยอ่อน เพลี้ยแป้ง หนอนต่างๆได้เป็นอย่างดี
7. ตะไคร้หอม  ตะไคร้แกง ขิง ข่า พริก น้อยหน่า หางไหล หนอนตายหยาก (สมุนไพรกำจัดศัตรูพืช)
อย่างละเท่าๆ กันแก่สดบดละเอียด แช่น้ำพอท่วม (ใส่เหล้าขาว + หัวน้ำส้มสายชู ตามความเหมาะสม) แช่นาน 3-5 วัน จะได้หัวเชื้อ
อัตราใช้  : หัวเชื้อ 30-50 ซีซี./น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วทรงพุ่ม ใช้ร่วมกับใบ/เมล็ดน้อยหน่าแก่แห้ง + ตะไคร้หอมแก่แห้ง + ยาฉุน อย่างละเท่าๆ กัน บดปั่น หว่านลงพื้นรอบๆ โคนต้น สามารถป้องกันหมัดกระโดดได้
8. ยาสูบ + ยาฉุน (สมุนไพรกำจัดศัตรูพืช)
ใบ/ต้นแก่สด 1 กก. + ยาฉุน 1 กก. บดละเอียดแช่น้ำ 2 ลิตร นาน 24 ชม. หรือต้ม 1 ชม. จะได้หัวเชื้อ
อัตราใช้  : หัวเชื้อที่ได้/น้ำ 60 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วทรงพุ่มทุก 3-5 วัน จะป้องกันและกำจัดเพลี้ยต่าง ไร รา ด้วงหมัดผัก ด้วงเจาะสมอ หนอนคืบกะหล่ำ หนอนเจาะยอด/ใบ/ต้น/ดอก หนอนม้วนใบ และไล่แมลง ได้เป็นอย่างดี