สมุนไพรสำหรับเลี้ยงสัตว์ รักษาโรคสัตว์

3 สุดยอดสมุนไพรสำหรับเลี้ยงสัตว์ รักษาโรคสัตว์

สมุนไพร
สัตว์เลี้ยสุดแสนน่ารักของเรา ไม่ว่าจะเลี้ยงไว้เพื่อความสวยงาม เลี้ยงไว้เป็นเพื่อน หรือแม้แต่เลี้ยงไว้เพื่อจำหน่าย สุขภาพของเจ้าสัตว์ตัวน้อยของเราก็มีความสำคัญครับ ดังนั้นแล้ว เราควรใส่ใจป้องกัน และรักษาสุขภาพของสัตว์ที่เราเลี้ยงไว้แต่เนิ่นๆ จะได้อยู่กับเราได้นานๆ วันนี้ขอนำเสนอสมุนไพรที่มีสรรพคุณทางยาใช้รักษา และป้องกันโรคสัตว์ ที่เราๆ ต่างรู้จักกันดี แต่อาจยังไม่รู้สรรพคุณหรือประโยชน์เท่าใดนัก 3 สมุนไพรแนะนำ มีดังนี้ครับ
1.ขมิ้นชัน
สรรพคุณทางยาสมุนไพร
มีฤทธิ์ลดการอักเสบ รักษาโรคผิวหนังที่เกิดจากเชื้อรา ใช้รักษาโรคลําไส้อักเสบ ลดจํานวนเชื้อแบคทีเรียในทางเดินอาหาร ใช้รักษาโรคบิดมูกเลือดในลูกสุกร โรคติดเชื้อในลําไส้ไก่ ใช้รักษาแผล ฝี หนอง ใช้เป็นยาบำรุงกำลัง ไม่มีการตกค้าง ไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค
เหง้าขมิ้น ตําผสมกับพลูคลุกกับปูนกินหมาก ใช้รักษาแผลให้ช้างทั้งแผลสด แผลมีหนองและกันแมลงบริเวณแผล ผู้เลี้ยงไก่ชนใช้ขมิ้นกับสมุนไพรอื่นๆ เช่นส่วนผสมของสมุนไพรที่ใช้ต้มเป็นนํ้ายาสมุนไพรอาบให้ไก่ชนประกอบด้วย ใบมะขาม ใบส้มป่อย ไม้ฤาษีผสม ใบคุระ ขมิ้นชัน ขมิ้นอ้อย ไม้กระดูกไก่ เปลือกไม้โอน ต้มรวมกันในนํ้าเดือด นํานํ้าที่ต้มได้มาอาบให้ไก่ชนเพื่อให้ไก่มีหนังเหนียว ไม่ฉีกง่ายเวลาโดนจิกหรือตี หรือสูตรแก้ไก่เป็นหวัด บิด ท้องเสีย จะใช้ขมิ้นชัน 7 กรัม ผสมฟ้าทะลายโจร 144 กรัม ไพล 29 กรัม บดผสมอาหารลูกไก่ 100 กิโลกรัม
2.กวาวเครือ
สรรพคุณทางยาสมุนไพร
มีการศึกษาการใช้กวาวเครือในสุกร โดยนํากวาวเครือบดแห้งมาผสมอาหารในอัตราส่วน 20 กรัมต่ออาหาร 100 กิโลกรัม ให้สุกรนํ้าหนัก 30-100 กิโลกรัมกินนาน 2.5-3 เดือน พบว่าสุกรทั้งเพศผู้และเพศเมียมีการเจริญเติบโตดีขึ้น สุกรที่กินกวาวเครือมีการกินอาหารได้ดีกว่ากลุ่มที่ไม่ได้กินและช่วยชะลอการ เป็นสัด เมื่อหยุดให้กวาวเครือ 1.5-2 เดือน สุกรตัวเมียกลับมาเป็นสัดตามปกติและสามารถผสมพันธ์ให้ลูกได้ การทดลองในสุกรเพศผู้เมื่อให้กินกวาวเครือผสมอาหารขนาด 20 กรัมต่ออาหาร 100 กิโลกรัม ปรากฏว่าให้เนื้อแดงสูง มีการเจริญเติบโตดีขึ้น

3.ฟ้าทะลายโจร 

สรรพคุณทางยาสมุนไพร
แก้หวัด ทอนซิลอักเสบ มีการทดลองนําฟ้าทะลายโจร ขมิ้นและไพลมาผสมอาหารให้ไก่กินในอัตราส่วน 50-75 กรัมต่ออาหาร 3 กิโลกรัม พบว่าสามารถลดค่าใช้จ่ายในการรักษาโรคต่างๆในสัตว์ได้เป็นอย่างดี
การใช้สมุนไพรรักษาโรคของไก่
ฟ้าทะลายโจร แก้โรคท้องร่วงในไก่
ฟ้าทะลายโจรแก้ไข้ในสัตว์
ฟ้าทลายโจรแก้โรคขี้ขาวในไก่
ฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรคระบบทางเดินหายใจ
ลดการอักเสบ สร้างภูมิต้านทาน ลดไข้ บรรเทาอาการหวัด

2 สมุนไพร แก้ฝีและแผลผุพอง

เทียนบ้าน สมุนไพรรักษาฝี
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Impatiens balsamina L.
วงศ์ : Balsaminaceae
ชื่อสามัญ : Garden Balsam
ชื่ออื่น : เทียนดอก เทียนสวน

ลักษณะ : พรรณไม้พวกคลุมดิน ลำต้นจะอุ้มน้ำ ลำต้นจะไม่ตั้งตรงขึ้นไป จะเอียงเล็กน้อย เปราะง่าย ใบมีลักษณะมนรี ปลายแหลม ดอกนั้นจะมีหลายสี เข่น สีชมพู สีแดง ส้ม และขาว เป็นดอกเดี่ยว จะออกติดกันช่อหนึ่ง อาจะจะมี 2-3 ดอก กลีบดอกจะซ้อน ๆ กันเป็นวงกลม มีกลีบเลี้ยง 3 กลีบ กลีบดอก 5 กลีบ กลีบด้านล่างงอเปราะ มีจะงอยยื่นออกมาเป็นหลอดเล็ก-ยาว ปลายโค้งขึ้น ขนาดดอก 3-6 ซม.

ประโยชน์ทางสมุนไพร

ใช้รักษาฝี แผลพุพอง ใช้ใบสดและดอกสดประมาณ 1 กำมือ ตำละเอียดพอกฝี หรือคั้นน้ำทาบริเวณที่เป็นฝีและแผลพุพองวันละ 3 ครั้ง (สีจากน้ำคั้นจะติดอยู่นาน จึงควรระวังการเปรอะเปื้อนเสื้อผ้าและร่างกายส่วนอื่น ๆ)

ขมิ้นชัน สมุนไพรรักษาโรคผิวหนัง ผื่นคัน
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Curcuma longa L.
วงศ์ : Zingiberaceae
ชื่อสามัญ : Turmaric
ชื่ออื่น : ขมิ้น ขมิ้นแกง ขมิ้นหยอก ขมิ้นหัว ขี้มิ้น หมิ้น

ลักษณะ : ไม้ล้มลุก อายุหลายปี สูง 30-90 ซม. เหง้าใต้ดินรูปไข่มีแขนงรูปทรงกระบอกแตกออกด้านข้าง 2 ด้าน ตรงกันข้ามเนื้อในเหง้าสีเหลืองส้ม มีกลิ่นเฉพาะ ใบ เดี่ยว แทงออกมาเหง้าเรียงเป็นวงซ้อนทับกันรูปใบหอก กว้าง 12-15 ซม. ยาว 30-40 ซม. ดอก ช่อ แทงออกจากเหง้า แทรกขึ้นมาระหว่างก้านใบ รูปทรงกระบอก กลีบดอกสีเหลืองอ่อน ใบประดับสีเขียวอ่อนหรือสีนวล บานครั้งละ 3-4 ดอก ผล รูปกลมมี 3 พู

ประโยชน์ทางสมุนไพร

ตำรายาไทยใช้เหง้ารักษาโรคผิวหนังผื่นคัน โดยทำเป็นผงผสมน้ำหรือเหง้าสด ฝนทาน้ำ มีรายงานว่าพบน้ำมันหอมระเหยและสาร curcumin ซึ่งมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของเชื้อหนองได้ดี จากการทดลองทารักษาโรคผิวหนังพุพองในเด็กพบว่าให้ผลเท่ายาปฏิชีวนะ นอกจากนี้ยังใช้เหง้ารักษาโรคท้องอืด ท้องเฟ้อและแผลในกระเพาะอาหาร โดยใช้ขนาด 250 มิลลิกรัม กินครั้งละ 2 เม็ด วันละ 4 ครั้งหลังอาหารและก่อนนอน ฤทธิ์แก้ท้องอืดน่าจะเกิดน้ำมันหอมระเหย ส่วนการเพิ่มน้ำย่อยและขับน้ำดีเกิดจาก ฤทธิ์ของ curcumin และ p-tolylcarbinol ทำให้การย่อยอาหารดีขึ้น อาการจุกเสียดลดลง curcumin ยังสามารถยับยั้งการเกิดก๊าซที่สร้างโดยเชื้อโรคที่ทำให้ท้องเสีย (Escherichia coli) แต่ไม่ได้ฆ่าเชื้อ นอกจากนี้ยังมีฤทธิ์กระตุ้นการหลั่งเมือกในทางเดินอาหาร จึงใช้รักษาแผลในกระเพาะอาหารได้ แต่มีข้อควรระวังคือ curcumin ในขนาดที่สูงกว่าขนาดรักษา 2 เท่า ทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร

ไพล:สมุนไพร แก้เคล็ด ขัด ยอก

ไพล:สมุนไพร แก้เคล็ด ขัด ยอก

ไพล
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Zingiber purpureum Roscoe
วงศ์ : Zingiberaceae
ชื่ออื่น : ปูลอย ปูเลย ว่านไฟ
ไพล:สมุนไพร แก้เคล็ด ขัด ยอก
 ลักษณะ : ไม้ล้มลุก สูง 0.7-1.5 เมตร มีเหง้าใต้ดิน เปลือกนอกสีน้ำตาลแกมเหลือง เนื้อในสีเหลืองแกมเขียว มีกลิ่นเฉพาะ แทงหน่อหรือลำต้นเทียมขึ้นเป็นกอประกอบด้วยกาบหรือโคน ใบหุ้มซ้อนกัน ใบ เดี่ยว เรียงสลับ รูปขอบขนานแกมใบหอก กว้าง 3.5-5.5 ซม. ยาว 18-35 ซม. ดอก ช่อ แทงจากเหง้าใต้ดิน กลีบดอกสีนวล ใบประดับสีม่วง ผล เป็นผลแห้ง รูปกลม

ประโยชน์ทางสมุนไพร

ตำรายาไทยใช้เหง้าเป็นยาขับลม ขับประจำเดือน มีฤทธิ์ระบายอ่อน ๆ แก้บิด สมานลำไส้ ยาภายนอกใช้เหง้าสดฝนทาแก้เคล็ดยอก ฟกบวม เส้นตึง เมื่อยขบ เหน็บชา สมานแผล

จากการวิจัยพบว่าในเหง้ามีน้ำมันหอมระเหยซึ่งมีคุณสมบัติลดอาการอักเสบและบวม จึงมีการผลิตยาขี้ผึ้งผสมน้ำมันไพล เพื่อใช้เป็นยาทาแก้อาการเคล็ดขัดยอก น้ำมันไพลผสมแอลกอฮอล์สามารถทากันยุงได้ นอกจากนี้พบว่าในเหง้ามีสาร 4-(4-hydroxy-1-butenyl) veratrole ซึ่งมีฤทธิ์ขยายหลอดลม ได้ทดลองใช้ผงไพล กับผู้ป่วยเด็กที่เป็นหืด สรุปว่าให้ผลดีทั้งในรายที่มีอาการหอบหืดเฉียบพลันและเรื้อรัง

2 สมุนไพร แก้กลากเกลื้อน

สมุนไพร แก้กลากเกลื้อน

1.ทองพันชั่ง สมุนไพรรักษากลากเกลื้อน
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Rhinacanthus nasutus Kurz
วงศ์ : Acanthaceae
ชื่ออื่น : ทองคันชั่ง หญ้ามันไก่
 
ทองพันชั่ง สมุนไพรรักษากลากเกลื้อน


ลักษณะ : เป็นไม้พุ่มสูง 1-2 เมตร กิ่งอ่อนมักเป็นสันสี่เหลี่ยม ใบเดี่ยวเรียงตรงข้ามรูปไข่หรือรูปวงรี กว้าง 2-4 ซม. ยาว 4-8 ซม. ดอกช่อ ออกที่ซอกใบกลีบดอกสีขาว โดคนกลีบติดกันเป็นหลอดปลายแยกเป็น 2 ปาก ปากล่างมีจุดประสีม่วงแดง ผลเป็นผลแห้ง แตกได้

ประโยชน์ทางสมุนไพร : ตำรายาไทยใช้ใบสดและรากโขลกละเอียด แช่เหล้าโรง 1 สัปดาห์เอาน้ำทาแก้กลากเกลื้อน สาระสำคัญคือ rhinacanthin และ oxymethylanthraquinone

2.พลู สมุนไพรบรรเทาอาการคัน ฆ่าเชื้อโรค
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Piper betle L.
วงศ์ : Piperaceae
ชื่อสามัญ : Betel Vine
 
พลู สมุนไพรบรรเทาอาการคัน ฆ่าเชื้อโรค

ลักษณะ : เป็นไม้เถาเนื้อแข็ง รากฝอยออกบริเวณข้อใช้ยึดเกาะ ข้อโป่งนูน ใบ เดี่ยว เรียงสลับ รูปหัวใจ กว้าง 8-12 ซม. ยาว 12-16 ซม. มีกลิ่นเฉพาะและมีรสเผ็ด ดอก ช่อ ออกที่ซอกใบ ดอกย่อยขนาดเล็กอัดแน่นเป็นรูปทรงกระบอก แยกเพศ สีขาว ผล เป็นผลสด กลมเล็กเบียดอยู่บนแกน พลูมีหลายพันธุ์ เช่นพลูเหลือง พลูทองหลาง

ประโยชน์ทางสมุนไพร : ตำรายาไทยใช้น้ำคั้นใบสดกินเป็นยาขับลมและทาแก้ลมพิษ โดยใช้ 3-4 ใบ ขยี้หรือตำให้ละเอียด ผสมเหล้าโรงเล็กน้อย ทาบริเวณที่เป็น ใบมีน้ำมันหอมระเหย ประกอบด้วยสาร chavicol และ eugenol ซึ่งมีฤทธิ์ทำให้ชาเฉพาะที่ สามารถบรรเทาอาการคันและฆ่าเชื้อโรคบางชนิดด้วย จึงมีการพัฒนาตำรับยาขี้ผึ้งผสมสารสกัดใบพลูขึ้นเพื่อใช้เป็นยาทารักษาโรคผิวหนังบางชนิด

รวมสมุนไพร แก้ขัดเบา

3 สมุนไพร แก้ขัดเบา

กระเจี๊ยบแดง สมุนไพรบำรุงธาตุ
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Hibiscus sabdariffa L.
วงศ์: Malvaceae
ชื่อสามัญ: Roselle
ชื่ออื่น: กระเจี๊ยบ กระเจี๊ยบเปรี้ย ผักเก็งเค็ง ส้มเก็งเค็ง ส้มตะเลงเครง
กระเจี๊ยบแดง สมุนไพรบำรุงธาตุ
 ลักษณะ: เป็นไม้พุ่ม สูง 50-180 ซม. มีหลายพันธุ์ ลำต้นสีม่วงแดง ใบเดี่ยว รูปฝ่ามือ 3 หรือ 5 แฉก กว้างและยาวใกล้เคียงกัน 8-15 ซม. ดอกเดี่ยว ออกที่ซอกใบ กลีบดอกสีชมพูหรือเหลืองบริเวณกลางดอกสีม่วงแดง เกสรตัวผู้เชื่อมกันเป็นหลอด ผลเป็นผลแห้ง แตกได้ มีกลีบเลี้ยงสีแดงฉ่ำน้ำหุ้มไว้
 ประโยชน์ทางสมุนไพร
ตำรายาไทยใช้ใบและยอดอ่อนซึ่งมีรสเปรี้ยวแก้ไอ ส่วนเมล็ดบำรุงธาตุ และช่วยขับปัสสาวะ มีรายงานการทดลองในผู้ป่วยโรคนิ่วในท่อไต ซึ่งดื่มยาชงกลีบเลี้ยงแห้งของผล 3 กรัมในน้ำ 300 ซีซี วันละ 3 ครั้ง ทำให้ถ่ายปัสสาวะสะดวกขึ้น บางรายนิ่วหลุดได้เอง นอกจากนี้ทำให้ผู้ป่วยกระเพาะปัสสาวะอักเสบมีอาการปวดแสบเวลาปัสสาวะน้อยลง

ตะไคร้ สมุนไพรแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cymbopogon citratus Stapf
วงศ์: Gramineae
ชื่ออื่น: ชื่อสามัญ: Lemon Grass
ชื่ออื่น: จะไคร ไคร
 
ตะไคร้ สมุนไพรแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ

ลักษณะ: เป็นไม้ล้มลุก อายุหลายปี สูง 0.75-1.2 เมตร แตกเป็นกอ เหง้าใต้ดินมีกลิ่นเฉพาะ ข้อและปล้องสั้นมาก กาบใบสีขาวนวลหรือขาวปนม่วง ยาวและหนาหุ้มข้อและปล้องไว้แน่น ใบเดี่ยวเรียงสลับ กว้าง 1-2 ซม. ยาว 70-100 ซม. แผ่นใบและขอบใบสากและคม ออกดอกยาก
 ประโยชน์ทางสมุนไพร 
โคนกาบใบและลำต้นทั้งสดและแห้งมีน้ำมันหอมระเหย ตำรายาไทยใช้เป็นยาขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อเฟ้อแน่นจุกเสียดใช้ลำต้นแก่สดประมาณ 1 กำมือ (40-60 กรัม) ทุบพอแหลก ต้มน้ำพอเดือดหรือชงน้ำ ดื่มวันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร นอกจากนี้ใช้เป็นยาขับปัสสาวะสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการขัดเบาหรือปัสสาวะไม่คล่อง โดยผู้ป่วยต้องไม่มีอาการบวมที่แขนและขา พบว่าน้ำมันตะไคร้มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อราและแบคทีเรีย

หญ้าหนวดแมว สมุนไพรรักษาโรคเบาหวาน และลดความดันโลหิต
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Orthosiphon grandiflorus Bolding
วงศ์: Labiatae
ชื่อสามัญ: Cat's Whisker
ชื่ออื่น: พยับเมฆ
หญ้าหนวดแมว สมุนไพรรักษาโรคเบาหวาน
ลักษณะ: เป็นไม้พุ่ม สูง 0.5-1 เมตร กิ่งและก้านสี่เหลี่ยมสีม่วงแดง ใบ เดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปไข่แกมสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด กว้าง 2-4 ซม. ยาว 4-7 ซม. ขอบใบหยักฟันเลื่อย ดอก ช่อ ออกที่ปลายกิ่ง มี 2 พันธุ์คือพันธุ์ดอกสีขาวและพันธุ์ดอกสีม่วงน้ำเงิน เกสรตัวผู้ยื่นพ้นกลีบดอกออกมายาวมาก ผล เป็นผลแห้งไม่แตก รูปรีขนาดเล็ก
 ประโยชน์ทางสมุนไพร 
 ตำรายาไทยใช้ทั้งต้นเป็นยาขับปัสสาวะ แก้โรคปวดตามสันหลังและบั้นเอว ใบเป็นยารักษาโรคเบาหวานและลดความดันโลหิต มีการทดลองใช้ใบแห้งเป็นยาขับปัสสาวะ ขับกรดยูริคซึ่งเป็นสาเหตุของโรคเกาต์และรักษาโรคนิ่วในไตกับผู้ป่วยโรงพยาบาลรามาธิบดี โดยใช้ใบแห้งประมาณ 4 กรัม ชงกับน้ำเดือด 750 ซีซี ดื่มต่างน้ำตลอดวัน ได้ผลเป็นที่น่าพอใจของแพทย์ พบว่าในใบมีเกลือโปแตสเซียมสูง ผู้ป่วยโรคหัวใจไม่ควรใช้

ยอ สมุนไพรแก้คลื่นไส้ อาเจียน

ลูกยอ สมุนไพรแก้คลื่นไส้ อาเจียน

สมุนไพรไทย
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Morinda citrifolia L.
วงศ์: Rubiaceae
ชื่อสามัญ: Indian Mulberry
ชื่ออื่น: มะตาเสือ ยอบ้าน
 
ยอ สมุนไพรแก้คลื่นไส้ อาเจียน

ลักษณะ: เป็นไม้ยืนต้น สูง 2-6 เมตร ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปวงรี กว้าง 8-15 ซม. ยาว 10-20 ซม. หูใบอยู่ระหว่างโคนก้านใบ ดอกช่อ ออกที่ซอกใบ ฐานดอกอัดกันแน่นเป็นรูปทรงกลม กลีบดอกสีขาว ผลเป็นผลสด เชื่อมติดกันเป็นผลรวม ผิวเป็นตุ่มพอง

ประโยชน์ทางสมุนไพร 

ตำรายาไทยใช้ผลสดดิบหรือห่าม ฝานเป็นชิ้นบาง ย่างหรือคั่วไฟอ่อน ๆ ให้เหลือง ต้มหรือชงกับน้ำ ดื่มแก้คลื่นไส้อาเจียน สารที่ออกฤทธิ์คือ asperuloside

2 สมุนไพร แก้ไอ มีเสมหะ

มะนาว สมุนไพรแก้โรคเลือดออกตามไรฟัน
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Citrus aurantifolia Swing.
วงศ์ : Rutacear
ชื่อสามัญ: Lime
ชื่ออื่น: ส้มมะนาว
ลักษณะ: เป็นไม่พุ่ม สูง 2-4 เมตร กิ่งอ่อนมีหนาม ใบประกอบชนิดมีใบย่อยใบเดียว เรียงสลับ รูปไข่ รูปวงรีหรือรูปไข่แกมขอบขนานกว้าง 3-5 ซม. ยาว 4-8 ซม. เนื้อใบมีจุดน้ำมันกระจาย ก้านใบมีครีบเล็ก ๆ ดอกเดี่ยวหรือช่อ ออกที่ปลายกิ่งและที่ซอกใบ กลีบดอกสีขาว กลิ่นหอม ร่วงง่าย ผลเป็นผลสด กลมเกลี้ยง ฉ่ำน้ำ
ประโยชน์ทางสมุนไพร 

ตำรายาไทยใช้น้ำมะนาวและผลดองแห้งเป็นยาขับเสมหะแก้ไอ แก้โรคเลือดออกตามไรฟัน เพราะมีวิตามินซี น้ำมะนาวเป็นกระสายยาสำหรับสมุนไพรที่ใช้ขับเสมหะเช่นดีปลี


ดีปลี สมุนไพรบำรุงธาตุ แก้ท้องเสีย
ดีปลี สมุนไพรบำรุงธาตุ แก้ท้องเสีย
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Piper chaba Hunt
วงศ์: Piperaceae
ชื่อสามัญ: Long Pepper
ชื่ออื่น:
ลักษณะ: เป็นไม้เถารากฝอยออกบริเวณข้อเพื่อใช้ยึดเกาะ ใบเดี่ยวรูปไข่แกมขอบขนาน กว้าง 3-5 ซม. ยาว 7-10 ซม. สีเขียวเข้มเป็นมัน ดอกช่อ ออกที่ซอกใบ ดอกย่อยอัดกันแน่น แยกเพศ ผลเป็นผลสด มีสีเขียว เมื่อสุกจะเปลี่ยนเป็นสีแดง รสเผ็ดร้อน
ประโยชน์ทางสมุนไพร 

ตำรายาไทยใช้ผลแก่จัดแต่ยังไม่สุกตากแห้งเป็นยาขับลม บำรุงธาตุ แก้ท้องเสีย ขับรกหลังคลอด โดยใช้ผล 1 กำมือ (ประมาณ 10-15 ผล) ต้มเอาน้ำดื่ม นอกจากนี้ใช้เป็นยาแก้ไอ โดยเอาผลแห้งครึ่งผลฝนกับมะนาวแทรกเกลือใช้กวาดคอหรือจิบบ่อยๆ ฤทธิ์ขับลมและแก้ไอ เกิดจากน้ำมันหอมระเหยและสาร piperine พบว่าสารสกัดเมทานอลมีผลยับยั้งการบีบตัวของลำไส้เล็กและสารสกัดปิโตรเลียมอีเธอร์ ทำให้สัตว์ทดลองแท้ง จึงควรระวังการใช้ในสตรีมีครรภ์





        



2 สมุนไพรแก้ท้องผูก

ขี้เหล็ก สมุนไพรแก้ท้องผูก
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cassia siamea Britt.
วงศ์ : Leguminosae
ชื่อสามัญ: Cassod Tree / Thai Copper Pod
ชื่ออื่น ขี้เหล็กแก่น ขี้เหล็กบาน ขี้เหล็กหลวง ขี้เหล็กใหญ่
 
ขี้เหล็ก สมุนไพรแก้ท้องผูก

ลักษณะ: เป็นไม้ยืนต้น สูง 10-15 เมตร ใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับใบย่อยรูปขอบขนาน กว้างประมาณ 1.5 ซม. ยาว 4 ซม. ใบอ่อนมีขนสีน้ำตาลแกมเขียว ดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่ง กลีบดอกสีเหลือง ผลเป็นฝักแบนยาวและหนา

ประโยชน์ทางสมุนไพร 
ตำรายาไทยใช้ดอกเป็นยานอนหลับ ลดความดันโลหิตดอกตูมและใบอ่อนเป็นยาระบาย ใบแก้ระดูขาว แก้นิ่ว ขับปัสสาวะ แก่นแก้ไข้ ทำให้นอนหลับ รักษากามโรค ใบอ่อนและแก่นมีสารกลุ่มแอนทราควิโนนหลายชนิด จึงมีฤทธิ์เป็นยาระบายใช้ใบอ่อนครั้งละ 2-3 กำมือ ต้มกับน้ำ 1-1.5 ถ้วย เติมเกลือเล็กน้อย ดื่มก่อนอาหารเช้าครั้งเดียว นอกจากนี้ในใบอ่อนและดอกตูมยังพบสารซึ่งมีฤทธิ์กดประสาทส่วนกลางทำให้นอนหลับโดยใช้วิธีดองเหล้าดื่มก่อนนอน

ชุมเห็ดเทศ สมุนไพรแก้ท้องผูก
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Senna alata L.
วงศ์: Leguminosae
ชื่อสามัญ Ringworm Bush
ชื่ออื่น: ขี้คาก ลับมีนหลวง หมากกะลิงเทศ ชุมเห็ดใหญ่
 
ชุมเห็ดเทศ สมุนไพรแก้ท้องผูก

ลักษณะ: เป็นไม้พุ่ม สูง 1 - 3 เมตร แตกกิ่งออกด้านข้าง ในแนวขนานกับพื้น ใบประกอบ แบบขนนก เรียงสลับ ใบย่อยรูปขอบขนาน รูปวงรีแกมขอบขนาน หรือรูปไข่กลับ กว้าง 3-7 ซม. ยาว 6-15 ซม. หูใบเป็นรูปสามเหลี่ยม ดอกช่อ ออกที่ซอกใบตอนปลายกิ่ง กลีบดอกสีเหลืองทอง ใบประดับ สีน้ำตาลแกมเหลืองหุ้มดอกย่อยเห็นชัดเจน ผลเป็นฝัก มีครีบ 4 ครีบ เมล็ดแบน รูปสามเหลี่ยม

ประโยชน์ทางสมุนไพร
เป็นสมุนไพรที่มีรสเบื่อเอียน ใบตำทาแก้กลากเกลื้อน โรคผิวหนัง ดอกและใบต้มรับประทานแก้อาการท้องผูก มีสารแอนทราควิโนน กลัยโคซายด์ หลายชนิด ได้แก่ emodin, aloe - emodin และ rhein ใช้เป็นยาระบายกระตุ้นลำไส้ใหญ่ให้บีบตัว การทดลองในสัตว์ และคน พบว่า ใบแก่มีฤทธิ์ น้อยกว่าใบอ่อน นอกจากนี้น้ำจากใบ ยังมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียด้วย

รวมสมุนไพร แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ

3 สมุนไพร แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ

สมุนไพรไทย
1.กระชาย สมุนไพรแก้ท้องอืดท้องเฟ้อ

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Boesenbergia rotunda (L.) Mansf.
วงศ์ : Zingiberaceae
ชื่ออื่น : กะแอน จี๊ปู ซีฟู เปาซอเร๊าะ เป๊าสี่ระแอน ว่านพระอาทิตย์
กระชาย สมุนไพรแก้ท้องอืดท้องเฟ้อ
ลักษณะ : เป็นไม้ล้มลุกไม่มีลำต้นบนดิน มีเหง้าใต้ดินซึ่งแตกรากออกไปเป็นกระจุกจำนวนมาก อวบน้ำ ตรงกลางพองกว้างกว่าส่วนหัวและท้าย ใบ เดี่ยว เรียงสลับเป็นระนาบเดียวกัน รูปขอบขนานแกมรูปไข่ กว้าง 4.5-10 เซนติเมตร ยาว 13-15 เซนติเมตร ตรงกลางด้านในของก้านใบมีร่องลึก ดอก ช่อ ออกแทรกอยู่ระหว่างกาบใบที่โคนต้น กลีบดอกสีขาวหรือชมพูอ่อน ใบประดับรูปใบหอกสีม่วงแดง ดอกย่อยบานครั้งละ 1 ดอก

ประโยชน์ทางสมุนไพร 
ตำรายาไทยใช้เหง้าแก้โรคในปากเช่นปากเปื่อย ปากเป็นแผล ปากแห้ง ขับระดูขาว ขับปัสสาวะ รักษาโรคบิด แก้ปวดมวนท้อง จากการทดลองในสารสกัดแอลกอฮอล์และคลอโรฟอร์ม พบว่ามีฤทธิ์ต้านเชื้อราที่ทำให้เกิดโรคผิวหนังและในปากได้ดีพอควร


2.กระเทียม สมุนไพรแก้ท้องอืดท้องเฟ้อ

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Allium sativum L.
วงศ์: Alliaceae
ชื่อสามัญ: Common Garlic, Allium, Garlic,
ชื่ออื่น: กระเทียม (ภาคกลาง) หอมเทียม (ภาคเหนือ) หอมขาว (ภาคอีสาน) เทียม, หอมเทียม (ภาคใต้)

กระเทียม สมุนไพรแก้ท้องอืดท้องเฟ้อ
ลักษณะ: ไม่พุ่ม สูง 2-4 เมตร กิ่งอ่อนมีหนาม ใบประกอบชนิดมีใบย่อยใบเดียว เรียงสลับ รูปไข่ รูปวงรีหรือรูปไข่แกมขอบขนานกว้าง 3-5 ซม. ยาว 4-8 ซม. เนื้อใบมีจุดน้ำมันกระจาย ก้านใบมีครีบเล็ก ๆ ดอกเดี่ยวหรือช่อ ออกที่ปลายกิ่งและที่ซอกใบ กลีบดอกสีขาว กลิ่นหอม ร่วงง่าย ผลเป็นผลสด กลมเกลี้ยง ฉ่ำน้ำ
 ประโยชน์ทางสมุนไพร
ตำรายาไทยใช้น้ำมะนาวและผลดองแห้งเป็นยาขับเสมหะแก้ไอ แก้โรคเลือดออกตามไรฟัน เพราะมีวิตามินซี น้ำมะนาวเป็นกระสายยาสำหรับสมุนไพรที่ใช้ขับเสมหะเช่นดีปลี


3.กระเพรา สมุนไพรแก้ท้องอืดท้องเฟ้อ

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ocimum sanctum L.
วงศ์ : Labiates
ชื่ออื่น : กอมก้อ กอมก้อดง กะเพราขาว กะเพราแดง
กระเพรา สมุนไพรแก้ท้องอืดท้องเฟ้อ
ลักษณะ : กะเพรามี 3 พันธุ์ คือ กะเพราแดง กะเพราขาว และกะเพราลูกผสมระหว่างกะเพราแดงและกะเพราขาว มีลักษณะทั่วไปคล้ายโหระพา ต่างกันที่กลิ่นและกิ่งก้านซึ่งมีขนปกคลุมมากกว่า  ใบกะเพราขาวจะเป็นสีเขียวอ่อน ส่วนใบกะเพราแดงสีเขียวแกมม่วงแดง ดอกย่อยสีชมพูแกมม่วง ดอกกะเพราแดงสีเข้มกว่ากะเพราขาว

ประโยชน์ทางสมุนไพร
ตำรายาไทยใช้ใบหรือทั้งต้นเป็นยาขับลมแก้ปวดท้อง ท้องเสีย และคลื่นไส้อาเจียน นิยมใช้กะเพราแดงมากกว่ากะเพราขาว โดยใช้ยอดสด 1 กำมือ ต้มพอเดือด ดื่มเฉพาะส่วนน้ำ พบว่าฤทธิ์ขับลมเกิดจากน้ำมันหอมระเหย การทดลองในสัตว์ แสดงว่าน้ำสกัดทั้งต้นมีฤทธิ์ลดการบีบตัวของลำไส้ สารสกัดแอลกอฮอล์สามารถรักษาแผลในกระเพาะอาหาร สาร eugenol ในใบมีฤทธิ์ขับน้ำดี ช่วยย่อยไขมันและลดอาการจุกเสียด

แพงพวยฝรั่ง:รักษาโรคมะเร็งได้

แพงพวยฝรั่ง  สมุนไพรรักษาโรคมะเร็ง

สมุนไพรไทย
ชื่อวิทยาศาสตร์ Catharnthus roseus G. Don

ลักษณะทั่วไป  เป็นไม้ล้มลุก ลำต้นสีเขียวอ่อน ภายในมีนํ้ายางใบเดี่ยว ออกเป็นคู่ตรงกันข้าม แผ่นใบรูปไข่กลับ ปลายใบมนหรือเว้าเป็นแอ่งตื้นๆ ใบสีเขียวเข้ม เป็นมัน ดอกที่โคนก้านใบ กลิ่นเหม็นเขียว ดอกมี๕กลีบ มีหลายสี เช่น สีม่วง ม่วงเข้ม ขาว ม่วงสลับขาว ผลเป็นฝักคู่ เมื่อแก่จัดแตกเป็น ๒ ซีก ภายในมีเมล็ดจำนวนมากเป็นพืชที่ทนต่อการเปลี่ยนดินฟ้าอากาศ และความแห้งแล้ง
แพงพวยฝรั่ง  สมุนไพรรักษาโรคมะเร็ง
ประโยชน์ทางยาสมุนไพร

ทั้งต้น : แก้เบาหวาน ลดความดัน ขับระดู

ใบ : แก้เบาหวาน บำรุงหัวใจใช้เป็นยาถ่ายสำ หรับคนท้องผูกเรื้อรัง ช่วยย่อย แก้โรคมะเร็งในเมล็ดเลือดของเด็กรักษาโรคมะเร็ง

ราก : แก้บิด ขับระดู และทำ ให้แท้งได้ ขับพยาธิ ใช้ห้ามเลือด

ดอกและใบ : ใช้พอกผิวหนังที่พุพอง ปวดแสบปวดร้อน เป็นยาถอนพิษร้อน

การขยายพันธุ์  ใช้เมล็ดเพาะเพื่อการขยายพันธุ์

คูณ:เป็นยาระบายชั้นดี

คูณ สมุนไพรเป็นยาระบายชั้นดี

สมุนไพรไทย
ชื่อวิทยาศาสตร์ Cassis fistula Linn.

ลักษณะทั่วไป  เป็นไม้พุ่มพื้นเมืองของเอเชียเขตร้อน มีใบเป็นช่อ ซึ่งในช่อหนึ่ง ๆ จะมีใบย่อย ๘-๑๖ ใบดอกเป็นพวงสีเหลือง ขณะออกดอกจะทิ้งซึ่งทำ ให้แลดูสวยงามมาก จะเห็นเป็นสีเหลืองทั้งต้น ผลเป็นฝักเรียบ ไม่มีขน มีขนาดยาวประมาณ ๑ ศอก เมื่อยังอ่อนมีสีเขียว เมื่อแก่เต็มที่จะเปลี่ยนเป็นสีนํ้าตาลเข้ม ภายในฝักจะแบ่งเป็นช่อง ๆ เช่นเดียวกับมะขาม ในแต่ละช่องจะมี ๑ เมล็ด เนื้อในฝักมีสีนํ้าตาลแกมดำเปียก
คูณ สมุนไพรเป็นยาระบายชั้นดี

ประโยชน์ทางยาสมุนไพร

ฝัก : ใช้เป็นยาระบายสำหรับผู้ที่ท้องผูกเป็นประจำ และในหญิงมีครรภ์ ใช้ฝักคูณเป็นยาระบายได้ดี โดยใช้เนื้อฝัก ๑ ฝักต้มกับเกลือใส่นํ้าเล็กน้อย รับประทานก่อนนอนตอนกลางคืน หรือตอนเช้าก่อนรับประทานอาหารก็ได้

การขยายพันธุ์  จะใช้เมล็ดในการเพาะขยายพันธุ์

โมกบ้าน:สมุนไพรรักษาโรคผิวหนังโดยเฉพาะเรื้อน

โมกบ้าน สมุนไพรรักษาโรคผิวหนังโดยเฉพาะเรื้อน

สมุนไพรไทย
ชื่อทางวิทยาศาสตร์ Wrightia religiosa Benth.
โมกบ้าน สมุนไพรรักษาโรคผิวหนังโดยเฉพาะเรื้อน
ลักษณะทั่วไป เป็นไม้พุ่มสูง ๑-๓ เมตร ลำ ต้นเปลือกเกลี้ยง มีสีนํ้าตาลเกือบดำ มีจุกเล็ก ๆ สีขาวทั่วไป ภายในลำต้นมีนํ้ายางสีขาว มีใบเดี่ยวติดเป็นคู่ตรงข้ามกัน แผ่นใบรูปรี รูปไข่ หรือรูปหอก กว้าง ๐.๘-๒.๕
ซม. ปลายใบแหลมหรือมน โคนใบสอบหรือมน ขอบใบเรียบ เนื้อใบบาง ก้านใบยาว ๑-๒ มม. ดอกสี
ขาว มีกลิ่นหอม ลักษณะดอกห้อยหัวลง ออกเป็นช่อสั้น ๆ ตามปลายกิ่ง ช่อละ ๔-๘ ดอก ก้านดอกเล็ก
ยาวประมาณ ๒.๕ ถึง ๓.๕ ซม. กลีบดอกสีขาว ปลายแยกเป็น ๕ กลีบ มีรูปไข่ ชอบขึ้นป่าดงดิบ และป่า
ละเมาะที่ชุ่มชื้น

ประโยชน์ทางยาสมุนไพร

ราก : ใช้ผสมเป็นยารักษาโรคผิวหนังจำพวกโรคเรื้อน

การขยายพันธุ์  ใช้เมล็ดขยายพันธุ์

ยี่โถ สมุนไพรแก้ไข้มาลาเรีย

ยี่โถ สมุนไพรแก้ไข้มาลาเรีย

สมุนไพรไทย
ชื่อทางวิทยาศาสตร์ Cerium indium Mill.
ยี่โถ สมุนไพรแก้ไข้มาลาเรีย
ลักษณะ เป็นไม้พุ่มขนาดกลาง สูง ๒-๓ เมตร ลำต้นแตกเป็นกลุ่มคล้ายไม้กอ ลำต้นเกลี้ยง เปลือกสีเทา
มีเนื้อยางสีขาวหรือครีม ใบมีลักษณะยาวเรียว และออกเป็นวงรอบลำต้น รอบข้อ ๆ ละ ๓-๔ ใบ เนื้อใบ
หนาและแข็ง สีเขียวเข้ม ไม่มีขน ดอกออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง มีรูปเหมือนกรวย มีหลายสี เช่น ขาว ชมพู
แก่ เหลืองอ่อน แดง สำ หรับดอกซ้อน ชนิดดอกลามีสีขาว ชมพูอ่อน ชมพูแก่ เหลืองอ่อน แดง และแดง
แก่ ดอกมีขนาดใหญ่ มีกลิ่นหอม กลีบดอกแยกเป็น ๕ กลีบ เวลาดอกยังตูมอยู่เหล่านี้จะบิดเป็นเกลียว
ผลเป็นฝักรูปเรียวยาว ตรงและแข้ง เมื่อแก่จะแตกออก ภายในฝักจะเมล็ดซึ่งมีขน ทำให้ลอยไปตามลม
ได้

ประโยชน์ทางยาสมุนไพร

ใบ : ต้มกินเพื่อลดอาการบวม แก้ไข้มาลาเรีย เป็นยาไล่แมลง

ดอก : มีรสขม ใช้แก้อักเสบ ปวดศีรษะ

ผล : ใช้น้อย ๆ ขับปัสสาวะ บำรุงหัวใจ

เมล็ด : ใช้เบื่อหนู

เปลือกและใบ : ตำ ผสมกับนํ้ามัน ใช้ทาแก้แผลพุพอง

นํ้ามันจากเปลือกและราก : ใช้ทาแก้โรคผิวหนัง แก้โรคเรื้อน ทาแก้กลาก เกลื้อน

ราก : ใช้แก้หืด เป็นยาขม ระงับปวดในท้อง และในข้อต่อ ทำ ให้แท้ง

การขยายพันธุ์ ใช้เมล็ด และการปักชำ โดยใช้กิ่ง

สุพรรณิการ์:เป็นสมุนไพรบำรุงกำลังชั้นดี

สุพรรณิการ์ สมุนไพรบำรุงกำลังชั้นดี

สมุนไพรไทย
ชื่อวิทยาศาสตร์ Cochospermum gossypium De condole.
สุพรรณิการ์:เป็นสมุนไพรบำรุงกำลังชั้นดี
ลักษณะ เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก สูง ๓-๖ เมตร ก้านและใบยาวเรียว ใบเป็นแฉก ๓-๕ แฉก ท้องใบมีขนอุย ลำต้นมีขน มีถิ่นกำเนิดในประเทศแถบอินเดียทางตะวันตกเฉียงเหนือของเทือกเขาหิมาลัย และประเทศพม่า ผลัดใบในราวเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน ในระยะนี้ใบจะร่วงหมด หลังจากนี้จะมีดอกออกมาจากปลายกิ่งเต็มต้น ดอกมีขนาดใหญ่ เส้นผ่าศูนย์กลาง ๔-๕ นิ้ว สีเหลืองทองเหมือนแพรแลดูงามมาก ดอกมี ๕ กลีบ มีเกสรมากมาย เมื่อดอกโรยหมดแล้ว ถึงจะมีใบอ่อนแตกออกมา ผลจะมีลักษณะป้อมยาวประมาณ ๒-๒๓ นิ้ว ผลเมื่อแก่มีสีนํ้าตาลแดง

ประโยชน์ทางยาสมุนไพร

ดอกแห้งและใบแห้ง : ใช้เป็นยาบำรุงกำลัง

ยางจากลำ ต้น : ใช้เป็นยาระบายอ่อน ๆ

การขยายพันธุ์  ใช้เมล็ดเพาะขยายพันธุ์

ลั่นทม:สมุนไพรที่ถอนพิษได้สารพัด

ลั่นทม สมุนไพรที่สามารถถอนพิษได้สารพัด

สมุนไพรไทย
ชื่อวิทยาศาสตร์ Plumeria acutifoli Poir.
ลั่นทม:สมุนไพรที่ถอนพิษได้สารพัด
ลักษณะ เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ลำต้นเกลี้ยงเกลา แตกกิ่งก้านสาขามาก กิ่งอุ้มนํ้า เปราะ เปลือกเรียบ
เกลี้ยง สีเขียวอมเทา มีนํ้ายางสีขาว เป็นใบเดี่ยว เรียงกันเป็นแบบบันไดเวียน และมักจะติดอยู่ตาม
ปลายกิ่ง แผน่ ใบเปน็ รปู ปลายหอกหรือรูปหอกลับ ปลายใบแหลม โคนใบแคบ ดอกสีขาวนวลตรง
กลางสีเหลืองอ่อน ด้านนอกสีชมพูเรื่อๆ กลิ่นหอม ออกดอกเป็นช่อขนาดใหญ่อยู่บริเวณปลายกิ่ง เวลา
ออกดอกจะทิ้งใบหมดปลายดอกแยกเป็นกลีบใหญ่ ๆ ๕ กลีบ ซ้อนกันเป็นวง ผลเป็นฝักรูปยาวแคบหรือ
รูปรี เมื่อแก่จัดแตกเป็น ๒ ซีก เมล็ดมีปีกมีถิ่นกำเนิดเดิมอยู่ในอเมริกาเขตร้อน ชอบอากาศชุ่มชื้น มี
แสงมาก

ประโยชน์ทางยาสมุนไพร

ยางและแกน : เป็นยาทำ ให้ระบาย ถ่ายเสมหะและโลหิต ถ่ายพิษทั้งปวง และแก้โรคกามโรค

การขยายพันธุ์ ใช้เมล็ดและกิ่งชำ

ขี้เหล็ก แก้นอนไม่หลับ ลดความดันโลหิต

ขี้เหล็ก สมุนไพรแก้อาการนอนไม่หลับ

สมุนไพรไทย 
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cassia siamea  Britt.
วงศ์ :  Leguminosae
ชื่อสามัญ : Cassod Tree / Thai Copper Pod
ชื่ออื่น ขี้เหล็กแก่น ขี้เหล็กบาน ขี้เหล็กหลวง ขี้เหล็กใหญ่

ขี้เหล็ก สมุนไพรแก้อาการนอนไม่หลับ
ลักษณะ : ไม้ยืนต้น สูง 10-15 เมตร ใบ  ประกอบแบบขนนก เรียงสลับใบย่อยรูปขอบขนาน กว้างประมาณ 1.5 ซม. ยาว 4 ซม. ใบอ่อนมีขนสีน้ำตาลแกมเขียว ดอก  ช่อ ออกที่ปลายกิ่ง กลีบดอกสีเหลือง ผล  เป็นฝักแบนยาวและหนา
ประโยชน์ทางสมุนไพร 

ตำรายาไทยใช้ดอกเป็นยานอนหลับ ลดความดันโลหิต  ดอกตูมและใบอ่อนเป็นยาระบาย ใบแก้ระดูขาว แก้นิ่ว ขับปัสสาวะ แก่นแก้ไข้ ทำให้นอนหลับ รักษากามโรค ใบอ่อนและแก่นมีสารกลุ่มแอนทราควิโนนหลายชนิด จึงมีฤทธิ์เป็นยาระบายใช้ใบอ่อนครั้งละ 2-3 กำมือ ต้มกับน้ำ 1-1.5 ถ้วย เติมเกลือเล็กน้อย ดื่มก่อนอาหารเช้าครั้งเดียว นอกจากนี้ในใบอ่อนและดอกตูมยังพบสารซึ่งมีฤทธิ์กดประสาทส่วนกลางทำให้นอนหลับโดยใช้วิธีดองเหล้าดื่มก่อนนอน

บัวบก สมุนไพรแก้ฟกช้ำ

บัวบก สมุนไพรแก้ฟกช้ำ ร้อนใน กระหายน้ำ

สมุนไพรไทย
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Centella asiatica  Urban
วงศ์ :  Umbelliferae
 ชื่อสามัญ : Asiatic Pennywort/Tiger Herbal
ชื่ออื่น :  ผักแว่น  ผักหนอก
บัวบก สมุนไพรแก้ฟกช้ำ
ลักษณะ :  ไม้ล้มลุกอายุหลายปี เลื้อยแผ่ไปตามพื้นดิน ชอบที่ชื้นแฉะแตกรากฝอยตามข้อ ไหลที่แผ่ไปจะงอกใบจากข้อชูขึ้น 3-5 ใบ ใบ  เดี่ยว เรียงสลับ รูปไตเส้นผ่าศูนย์กลาง 2-5 ซม. ขอบใบหยัก ก้านใบยาว ดอก  ช่อ ออกที่ซอกใบ ขนาดเล็ก 2-3 ดอก กลีบดอกสีม่วง ผล  เป็นผลแห้ง แตกได้

ประโยชน์ทางสมุนไพร

ตำรายาไทยใช้น้ำต้มใบสดดื่มรักษาโรคปากเปื่อย ปากเหม็น เจ็บคอ ร้อนใน กระหายน้ำ ลดไข้ ขับปัสสาวะ แก้ท้องเสีย ใช้เป็นยาภายนอกรักษาแผลเปื่อย แผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก โดยใช้ใบสด 1 กำมือ ล้างให้สะอาด ตำละเอียดคั้นเอาน้ำทาบริเวณแผลบ่อย ๆ ใช้กากพอกด้วยก็ได้ แผลจะสนิทและและเกิดแผลเป็นชนิดนูน (keloid) น้อยลง สารที่ออกฤทธิ์ คือ กรด madecassic, กรด Asiatic และ asiaticoside ซึ่งช่วยสมานแผลและเร่งการสร้างเนื้อเยื่อ ระงับการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดหนองและลดการอักเสบ มีรายงานการค้นพบฤทธิ์ฆ่าเชื้อราอันเป็นสาเหตุของโรคกลาก ปัจจุบันมีการพัฒนายาเตรียมชนิดครีม ใช้ทารักษาแผลอักเสบจากการผ่าตัดด้วย

ฟักทอง สมุนไพรป้องกันโรคเบาหวาน

ฟักทอง สมุนไพรป้องกันโรคเบาหวาน ความดันโลหิต

สมุนไพรไทย
ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Cucurbita moschata  Decne.
วงศ์ :    Cucurbitaceae
ชื่อสามัญ : Pumpkin
ชื่ออื่น : หมากอึ (ภาคอีสาน) มะฟักแก้ว ฟักแก้ว (ภาคเหนือ) มะน้ำแก้ว หมักอื้อ (เลย) หมากฟักเหลือง (แม่ฮ่องสอน) น้ำเต้า ภาคใต้
ฟักทอง สมุนไพรป้องกันโรคเบาหวาน
ลักษณะ : เป็นพืชล้มลุก มีเถายาวเลื้อยปกคลุมดิน ลำต้นมีลักษณะกลมหรือเป็นเหลี่ยมมน ผิวเป็นร่องตามความยาว มีขนอ่อน ๆ มีหนวดสำหรับยึด เกาะยึดบริเวณข้อ ใบเป็นใบเดี่ยว มีขนาดใหญ่ ออกเรียงสลับกัน โคนใบเว้าคล้ายรูปหัวใจ ขอบใบหยักเป็นเหลี่ยม 5 เหลี่ยม มีขนทั้ง 2 ด้านของตัวใบดอกเป็นดอกเดี่ยวสีเหลืองมีขนาดใหญ่ ลักษณะคล้ายระฆังหรือกระดิ่งออกบริเวณง่ามใบผลมีขนาดใหญ่ มีลักษณะเป็นพูเล็ก ๆ โดยรอบเปลือกนอกขรุขระและแข็ง มีสีเขียวและจะเปลี่ยนเป็นสีเขียวอ่อนและ สีเหลืองเข้ม และสีเหลืองตามลำดับ เนื้อภายในมีสีเหลืองอมเขียว สีเหลือง และสีส้ม เมล็ดมีจำนวนมากซึ่งอยู่ตรงกลางผลระหว่างเนื้อฟู ๆ มีรูปร่างคล้ายไข่ แบน มีขอบนูนอยู่โดยรอบ

ส่วนที่ใช้เป็นยาสมุนไพร 

เนื้อฟักทอง ประกอบด้วยแป้ง โปรตีน ไขมัน ฟอสฟอรัส แคลเซียม เหล็ก และ สารเบต้า - แคโรทีน ซึ่งเป็นสารที่ร่างกายนำไปสร้างวิตามิน เอ
เมล็ด มีฟอสฟอรัสในปริมาณสูง รวมทั้งแป้ง โปรตีน และน้ำประมาณร้อยละ 40 ส่วนเมล็ดแห้งมีสารคิวเคอร์บิทีน (Cucurbitine) เป็นสารสำคัญ ซึ่งมีฤทธิ์ฆ่าพยาธิได้ผลดี  นอกจากนั้น ฟักทองสามารถกระตุ้นการหลั่งอินซูลิน ซึ่งช่วยป้องกันโรคเบาหวาน ความดันโลหิต ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด บำรุงนัยน์ตา ตับและไต เมล็ดใช้เป็นยาขับพยาธิตัวตืด ป้องกันการเกิดนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ และช่วยดับพิษปอดบวม  
ราก ช่วยแก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย ยางช่วยแก้พิษผื่นคัน เริม และงูสวัด

ทับทิม สมุนไพรรักษาอาการไข้

ทับทิม สมุนไพรรักษาอาการไข้

สมุนไพรไทย
ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Punica granatum  L.
วงศ์ :  Punicaceae
ชื่อสามัญ : Pomegranate
ชื่ออื่น : พิลา  พิลาขาว มะก่องแก้ว มะเก๊าะ
ลักษณะ : ไม้ยืนต้น สูง 3-10 เมตร เปลือกต้นเรียบ ใบ  เดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปวงรีหรือรูปวงรีแกมขอบขนาน กว้าง 3-8 ซม. ยาว 6-14 ซม. ดอก  เดี่ยวหรือช่อ 2-3 ดอก ออกที่ซอกใบ กลีบดอกสีขาว ร่วงง่าย เกสรตัวผู้จำนวนมาก ผล  เป็นผลสด
ทับทิม สมุนไพรรักษาอาการไข้
ประโยชน์ทางสมุนไพร 
ใบ ใช้ใบสดนำมาต้ม กรองเอาน้ำใช้ล้างแผลเนื่องจากมีหนองเรื้อรังบนหัว หรือใช้ใบ สดนำมาตำให้ละเอียดแล้วเอาไปพอกในบริเวณที่เป็นแผลถลอก เนื่องจากหกล้มได้เป็นต้น
เปลือกต้น ในเปลือกของลำต้นจะมีอัลกาลอยด์ประมาณ 0.35 - 0.6 ฺ% และอัลกาลอยด์ในเปลือกของลำต้นนี้ มีชื่อเรียกว่า Pelle tierine และ Isopelletierine ซึ่งเป็นยา ถ่ายพยาธิได้ผลดี
ดอก ใช้ดอกที่แห้งประมาณ 3 - 6 กรัม นำมาต้มกรองเอาน้ำดื่ม เป็นยาแก้ให้เลือดกำเดาแข็งตัว และแก้หูชั้นในอักเสบ หรือใช้ ดอกแห้งนำมาบดให้ละเอียดแล้วใช้ทา หรือโรยบริเวณบาดแผลที่มีเลือดออก
เปลือกผล ใช้เปลือกผลที่แห้งแล้วประมาณ 2.5 - 4.5 กรัม นำมาบดให้ละเอียด หรือนำมาต้มน้ำกิน ใช้เป็นยาแก้โรคท้องเสีย โรค บิดเรื้อรัง ถ่ายเป็นมูกเลือด ถ่ายพยาธิตกขาว ดากออก แผลหิด และกลากเกลื้อนเป็นต้น
เมล็ด ใช้เมล็ดที่แห้งแล้วประมาณ 6 - 9 กรัม นำมาบดให้ละเอียด หรือทำเป็นยาก้อน กิน เป็นยาแก้โรคปวด จุกแน่น เนื่องจาก โรคกระเพาะอาหาร บำรุงกระเพาะอาหาร ทำ ให้เจริญอาหาร และแก้ท้องร่วง เป็นต้น  เปลือกราก ใช้เปลือกรากที่แห้งแล้ว ประมาณ 6 - 12 กรัม นำมาต้มน้ำกิน เป็นยาแก้ระดูขาว ตกเลือด ถ่ายพยาธิ หล่อลื่นลำไส้ แก้ท้องเสีย และโรคบิดเรื้อรังเป็นต้น

บัว : สมุนไพรบำรุงกำลัง

บัว สมุนไพรบำรุงกำลัง

สมุนไพรไทย
ชื่อวิทยาศาตร์ Nelumbo nucifera Gaertn.
บัวเป็นไม้นํ้า ใบกลมมีขนาดใหญ่ ดอกที่พบทั่ว ๆ ไป มีสีชมพูอมม่วง, ชมพู, ม่วง, ขาว , เหลือง ทั้ง
ใบและดอกจะมีก้านยาวชูขึ้นพ้นผิวนํ้า ดอกบัวจะมีกลีบดอกซ้อนกันหลายชั้น เมื่อลอกเอากลีบดอกตรง
แถบกลางของดอกจะมีรูปร่างคล้ายกรวยที่มองเห็นได้ชัด ซึ่งจะมีเมล็ดฝังอยู่และเจริญเติบโตเป็นผลเรียกว่า "ฝักบัว" มีรากหยั่งลงไปในดินลึก บังเป็นพืชเมืองร้อนพบขึ้นไปตามหนอง บึง และคลอง
บัว : สมุนไพรบำรุงกำลัง
ส่วนที่ใช้เป็นยาสมุนไพร

ราก : ใช้เป็นอาหารที่มีคุณค่า รสหวานและกลิ่นหอม เด็กรับประทานเพื่อระงับอาการ
ท้องร่วง ธาตุไม่ปกติ

เกสร : ตากแห้งแล้วใช้ผสมเป็นยาแก้หอบ บำ รุงกำ ลัง แก้ลม วิงเวียนศรีษะ ขับเสมหะภายใน
ลำ คอ

เมล็ด : มีสีเขียว รสขม ใช้เป็นยาขยายหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ

การขยายพันธุ์ ใช้เหง้าหรือไหล

2 สุดยอดสมุนไพรไล่ยุง

ตะไคร้หอม

ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Cymgopogon winterianus Jowitt.
วงศ์ :   Gramineae
ชื่อสามัญ : Citronella Grass
ชื่ออื่น : จะไคมะขูด ตะไครมะขูด  ตะไคร้แดง
ลักษณะ :  ตะไคร้หอมมีลักษณะส่วนใหญ่คล้ายกับตะไคร้ ต่างกันที่กลิ่น กาบใบและแผ่นใบ กาบใบของตะไคร้หอมมีสีเขียวปนม่วงแดง แผ่นใบกว้าง ยาวและนิ่มกว่าเล็กน้อย ทำให้ปลายห้อยลงปรกดินกว่า ดอกช่อ สีน้ำตาลแดง แทงออกจากกลางต้น ผลเป็นผลแห้ง ไม่แตก
ตะไคร้หอม "สมุนไพรไล่ยุง"
ประโยชน์ทางสมุนไพร :  ตำรายาไทยใช้เหง้าเป็นยาบีบมดลูก ขับประจำเดือน ขับปัสสาวะ ขับระดูขาว เหง้า ใบและกาบมีน้ำมันหอมระเหยซึ่งมีขายในชื่อว่า citronella oil ใช้เป็นยากันยุง โดยละลายน้ำ ตะไคร้หอม 7 ส่วนในแอลกอฮอล์เช็ดแผล (70%) 93 ส่วน ฉีดพ่น หรือตำใบสดหมักในแอลกอฮอล์ในอัตราส่วน 1:1 ทาตรงขอบประตูที่ปิดเปิดเสมอ หรือชุบสำลีแขวนเอาไว้หน้าประตูเข้าออก หรือใช้ใบตะไคร้หอมมัดแล้วทุบให้ช้ำวางไว้ตามมุมห้องหรือใต้เตียง นอกจากนี้ยังมีรายงานฤทธิ์ต้านเชื้อราที่ทำให้เกิดโรคพืชด้วย

ไพล: สมุนไพรช่วยขับลม

ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Zingiber purpureum  Roscoe
วงศ์ :    Zingiberaceae
ชื่ออื่น :  ปูลอย  ปูเลย  ว่านไฟ
ลักษณะ :  ไม้ล้มลุก สูง 0.7-1.5 เมตร มีเหง้าใต้ดิน เปลือกนอกสีน้ำตาลแกมเหลือง เนื้อในสีเหลืองแกมเขียว มีกลิ่นเฉพาะ แทงหน่อหรือลำต้นเทียมขึ้นเป็นกอประกอบด้วยกาบหรือโคน ใบหุ้มซ้อนกัน ใบ  เดี่ยว เรียงสลับ รูปขอบขนานแกมใบหอก กว้าง 3.5-5.5 ซม. ยาว 18-35 ซม. ดอก  ช่อ แทงจากเหง้าใต้ดิน กลีบดอกสีนวล ใบประดับสีม่วง ผล  เป็นผลแห้ง รูปกลม
ไพล: สมุนไพรช่วยขับลม
 ประโยชน์ทางสมุนไพร :  ตำรายาไทยใช้เหง้าเป็นยาขับลม ขับประจำเดือน มีฤทธิ์ระบายอ่อน ๆ แก้บิด สมานลำไส้ ยาภายนอกใช้เหง้าสดฝนทาแก้เคล็ดยอก ฟกบวม เส้นตึง เมื่อยขบ เหน็บชา สมานแผล จากการวิจัยพบว่าในเหง้ามีน้ำมันหอมระเหยซึ่งมีคุณสมบัติลดอาการอักเสบและบวม จึงมีการผลิตยาขี้ผึ้งผสมน้ำมันไพล เพื่อใช้เป็นยาทาแก้อาการเคล็ดขัดยอก น้ำมันไพลผสมแอลกอฮอล์สามารถทากันยุงได้ นอกจากนี้พบว่าในเหง้ามีสาร 4-(4-hydroxy-1-butenyl) veratrole ซึ่งมีฤทธิ์ขยายหลอดลม ได้ทดลองใช้ผงไพล กับผู้ป่วยเด็กที่เป็นหืด

สรุปว่าให้ผลดีทั้งในรายที่มีอาการหอบหืดเฉียบพลันและเรื้อรัง